455

วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ส่วนผสมน้ำพริกแกง
- พริกแห้ง 7 เม็ด
- เกลือป่น 1 ช้อนชา- ตะไคร้หั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
- ข่าหั่นฝอย 1 ช้อนโต๊ะ
- กระเทียมซอย 2 ช้อนโต๊ะ
- หอมแดงซอย 4 ช้อนโต๊ะ
- กะปิ 1 ช้อนชา
วิธีทำ
1. นำพริกแห้งที่แกะเม็ดออกหั่นฝอย แช่น้ำให้นิ่ม บีบน้ำออก
2. โขลกพริกกับเกลือให้ละเอียด ใส่ข่า ตะไคร้ กระเทียม หอมแดง กะปิ โขลกจนส่วนผสมละเอียดเข้ากันดี ตักขึ้นพักไว้
ส่วนผสมเครื่องปรุง
- ซี่โครงหมูอ่อนหั่นท่อน 500 กรัม
- ตะไคร้หั่นแฉลบ 5 ต้น
- ใบมะกรูดฉีก 5 ใบ
- พริกขี้หนูบุบ 8 เม็ด
- น้ำซุป 5 ถ้วยตวง
- น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
วิธีทำ
1. ละลายน้ำพริกแกงในน้ำซุป แล้วนำไปตั้งไฟจนกระทั่งเดือด
2. ใส่ซี่โครงหมู ตะไคร้ ใบมะกรูด พริกขี้หนูบุบ ต้มจนกระทั่งหมูสุก ปรุงรสด้วยน้ำปลา ชิมรสตามชอบ ปิดไฟยกลง
http://www.l3nr.org/posts/535175
ส่วนผสม
- พริกแห้งเม็ดใหญ่ 10 เม็ด
- กระเทียม 3 กลีบ
- หอมแดง 10 หัว
ปลาร้าสับ 1 ช้อนโต๊ะ
- เกลือป่น 1 ช้อนชา
- ปลาเนื้ออ่อนรมควัน 1 ตัว

วิธีทำ
1. ย่างพริกแห้งให้กรอบ
2. เผากระเทียมและหอมแดงให้สุก ปอกเปลือกออก แล้วหั่นฝอย
3. ห่อปลาร้าด้วยใบตองนำไปย่างไฟจนกระทั่งสุกและหอม
4. ปิ้งปลาเนื้ออ่อนรมควันพอหอม แกะเอาเฉพาะเนื้อปลา นำไปโขลกให้ละเอียด
5. โขลกพริกแห้งกับเกลือป่นให้ละเอียด ใส่กระเทียม หอมแดง โขลกจนส่วนผสมเข้ากันดี ใส่ปลาร้า เนื้อปลา โขลกรวมกันจนละเอียด ตักใส่ถ้วย รับประทานกับผักสด เช่น แตงกวา มะเขือชนิดต่างๆ ฯลฯ ผักต้ม เช่น หน่อไม้ ถั่วฝักยาว ผักกาดจอ ผักดอง เช่น ผักกาดดอง ผักเสี้ยน
http://www.l3nr.org/posts/535175
วัฒนธรรมการกินของเหนือเป็นไปตามบรรพบุรุษ อาหารส่วนใหญ่ได้มาจากธรรมชาติเช่นของป่าหรือสิ่งที่อยู่ภายในบริเวณบ้านเช่น พืช ผักและสัตว์ที่เลี้ยงไว้เอง โดยรวมไปถึงอาหารที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลเช่น หน่อไม้ป่า เห็ดป่านานาชนิดเป็นต้น
ชาวเหนือมีวัฒนธรรมการผลิตและการบริโภคข้าวเหนียวเป็นหลักคือ จะปั้นข้าวเหนียวแล้วจิ้มกินกับน้ำแกงหรือน้ำพริก โดยเฉพาะการกินข้าวเหนียวกับส้มตำ ซึ่งจะเป็นที่รู้จักกันดีทางภาคเหนือและภาคอีสาน ชาวเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิดเช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง น้ำพริกน้ำปู น้ำพริกน้ำปู ฯลฯ ซึ่งผักที่เป็นเครื่องจิ้มและรับประทานคู่กันส่วนมากเป็นผักสดและผักนึ่ง สำหรับอาหารประเภทเครื่องแกงเช่น แกงขนุนอ่อน แกงแค แกงฮังเล แกงโฮะ แกงหน่อไม้ แกงอ่อม แกงผักหวาน แกงผักปั๋ง แกงผักกาดจอ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอยไก่ ฯลฯ และอาหารประเภททอด ยำหรือนึ่ง เช่น ยำหน่อไม้ ยำกบ ตำจิ๊นแห้ง ตำขนุน ตำมะม่วง ผักกาดส้ม ข้าวกั๊นจิ๊น ห่อนึ่งปลา แคบหมู ไส้อั่ว จิ๊นส้มหมก ฯลฯ
อาหารของชาวเหนือจะมีการจัดสำรับที่สวยงามและวิธีรับประทานที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งเรียกว่าการกินขันโตก เพราะด้วยนิสัยชาวเหนือจะมีกริยาที่แช่มช้อย จึงส่งผลต่ออาหารและทำให้อาหารรสชาติออกมาอย่างดีและลงตัว





http://www.l3nr.org/posts/535175
ดังนั้นอาหารในแต่ละภาคแต่ละจังหวัด จะมีสูตรการทำอาหารและรสชาติที่ไม่เหมือนกัน อย่างเช่น ภาคใต้จะเป็นอาหารประเภทแกงและอาหารทะเลเป็นส่วนมาก ภาคเหนือจะเป็นอาหารสุขภาพและสมุนไพร ภาคอีสานจะมีอาหารคล้ายกับทางภาคเหนือ แต่รสชาติไปทางเผ็ดร้อนและภาคกลางจะเป็นอาหารตามหลักทั่วไปซึ่งรวมทั้งอาหารไทยและอาหารนานาชาติ 
อาหารไทยขึ้นชื่อได้ว่ามีประวัติมาช้านาน ผู้คนส่วนใหญ่ทั้งในและต่างประเทศต่างนิยมชมชอบในอาหารไทยกันมากมาย โดยเฉพาะชื่อเสียงในด้านความเข้มข้นและจัดจ้านของรสอาหารที่ติดปากติดใจผู้คนมานับศตวรรษโดยส่วนใหญ่อาหารไทยจะมีวิธีการประกอบอย่างง่ายๆ และ ใช้เวลาในการทำไม่มากนักโดยเฉพาะทุกครัวเรือนของคนไทย จะมีส่วนประกอบอาหารติดอยู่ทุกครัวเรือน เครื่องเทศต่างๆ  ผัก เนื้อสัตว์นานาชนิด นำมาประกอบอาหารทั้ง ผ้ด แกง ต้ม  ยำ อาหารไทยได้รับอิทธิพลในการปรุงอาหารรวมทั้งรูปแบบในการรับประทานอาหารตั้งแต่ อดีต อาทิการนำเครื่องเทศมาใช้ในการประกอบอาหารก็ได้รับ อิทธิพลมาจากเปอร์เชียผ่านอินเดีย
อาหารไทยแท้และอาหารไทยแปลง
  • อาหารไทยแท้
คืออาหารที่คนไทยทำกันมาแต่โบราณ ส่วนมากเป็นแบบง่ายๆ เช่น ข้าวแช่ ต้มโคล้ง แกงป่า น้ำพริก เป็นต้น และหลน  
  ขนมไทยแท้ก็ปรุงมาจากแป้ง น้ำตาล กะทิเป็นส่วนใหญ่ เช่น ขนมเปียกปูน ขนมเปียกอ่อน ตะโก้ ลอดช่อง เป็นต้น และถ้าใส่ไข่ ส่วนมากมักจะเป็นขนมไทยที่รับมาจากชาติอื่น
  •   อาหารไทยแปลง
          คืออาหารไทยที่แต่งแปลงมาจากเทศ หรือ
อาหารไทยที่รับมาจากต่างประเทศ บางชนิดคนไทยคุ้นเคย จนไม่รู้สึกว่าเป็นของชาติอื่นเช่น แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น ที่จริงนั้นดัดแปลงมาจากของอินเดีย และแกงจืดต้มจืดทั้งหลายก็ดัดแปลงมาจากอาหารจีน  
อาหารหวานหรือขนมหลายอย่าง ได้รับการถ่ายทอดมาจากชาวยุโรปที่เข้ามาในประเทศไทย ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เช่น ทองหยิบ ทองหยอดทองโปร่ง ฝอยทอง และ สังขยา
http://www.l3nr.org/posts/535175